ประโยชน์ ของฟิสิกส์นิวเคลียร์ ของ ฟิสิกส์นิวเคลียร์

1.เพื่อใช้ทางด้านเกษตรกรรม

นักวิทยศาสตร์ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ กับรังสีของนิวเคลียร์เพื่อที่จะทดสอบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมแต่ละที่

1.1 การปรับเปลี่ยนพันธุกรรม การใช้รังสีช่วยในการเพิ่มแร่ธาตุในดิน เช่นฟอสฟอรัส -32 ที่ปะปนอยู่ดินบริเวณต้นไม้นั้น รากของต้นไม้จะดูดซึม กัมมันตภาพรังสี เพื่อส่งต่อไปยังลำต้นของและส่วนอื่น ๆ ของต้นไม้ เพื่อที่จะรอปรุงอาหาร

1.2 มันสามารถทำให้เรารู้ปริมาณของปุ๋ย ที่ดูดซึมของต้นไม้ได้

1.3 ใช้ในการคัดเลือกโคนมโดยใช้ ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ซึ่งมีผลต่อปริมาณน้ำนมของโคนมอีกด้วย

1.4 กำจัดแมลงโดยอาบรังสีทำให้แมลงตายโดนใช้การแตกตัวของอะตอม ในเซลล์หรือหยุดการแพร่พันธุ์ของแมลง

2.เพื่อใช้ในการแพทย์

ปัจจุบันมีการใช้รังสีในด้านต่าง ๆ ในการแพทย์เช่นทำคีโม่ หรือ ล่าสุดมีการฉายรังสีเพื่อตรวจสอบการไหลเวียนของโลหิตเพื่อให้การรักษาเส้นเลือดอุดตันมีประสิทธิภาพขึ้นอีกด้วย

2.1ประโยชน์จากรังสีไอโอโอดีน -131 ช่วยในการตรวจต่อมไทรอยด์อีกด้วย

2.2สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ ด้วยรังสีโคบอลต์ –60

2.3การใช้ โซดียม 24 วินิจฉัยการอุดตันของระบบทางเดินโลหิต

3.เพื่อใช้ในด้านอุตสาหกรรม

ปัจจัยหลักที่จะทำให้อุตสาหกรรมก้าวหน้าไปได้ในสภาวะเศรษฐกิจของโลก ในขณะนี้ คือ การเพิ่มผลผลิต การควบคุมคุณภาพ และการลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวในปัจจุบันไทยได้นำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาใช้ในการประกอบอุตสาหกรรมต่าง ๆ

3.1มีการใช้ รังสีในการตรวจสอบ สินค้าอุตสาหกรรมพวกแผ่นเหล็ก ว่าได้มาตรฐาน ตรงตามที่โรงงานกำหนดหรือไม่อีกด้วย

3.2การเชื่อมโลหะ โดยการหารอยรั่วของท่อลำเลียงน้ำมันด้วยรังสีแกมมา ทำให้ช่วยประหยัด ทั้งเวลาและแรงงาน

3.3สามารถวบคุมความหนาของแผ่นโลหะได้อย่างที่เรากำหนดให้สม่ำเสมออย่างต่อเนื่องด้วยกระบวนการผลิตด้วยรังสี

ใกล้เคียง

ฟิสิกส์ ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ของอนุภาค ฟิสิกส์ทฤษฎี ฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์อะตอม ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์วิศวกรรม

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฟิสิกส์นิวเคลียร์ http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=7... http://ikaen2520.wordpress.com/3-%E0%B8%9F%E0%B8%B... http://adsabs.harvard.edu/abs/1997NuPhS..57..259T http://adsabs.harvard.edu/abs/1999CQGra..16.2471S http://adsabs.harvard.edu/abs/2006ENews..37...24P //arxiv.org/abs/gr-qc/9905022 //doi.org/10.1016%2Fs0920-5632(97)00399-x //doi.org/10.1051%2Fepn:2006504 //doi.org/10.1088%2F0264-9381%2F16%2F7%2F320 http://www.europhysicsnews.org